ภัยแล้ง...คือ?

ภัยแล้ง...คือ ?


         อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วใช่ไหมคะว่าประเทศไทยมักจะประสบปัญหาภัยแล้งทุกปี ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบในหลายๆด้านด้วยกัน เช่น การอุปโภค บริโภค การเกษตร การปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การอุตสาหกรรม การคมนาคมทางน้ เป็นต้น รู้อย่างนั้นแล้วเราลองมาทำความรู้จักกับ "ภัยแล้ง" กันดีกว่านะคะเพื่อที่เราจะได้รับมือกับภัยพิบัติร้ายนี้ได้ทันท่วงที

ภัยแล้งคืออะไร ?
       ภัยแล้ง คือ ภัยที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิดความแห้งแล้ง และส่งผลกระทบต่อชุมชน

สาเหตุของการเกิดภัยแล้งมีอะไรบ้าง ?

1. โดยธรรมชาติ
1.1 การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก
1.2 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
1.3 การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล 
1.4 ภัยธรรมชาติ เช่น วาตภัย แผ่นดินไหว

2. โดยการกระทำของมนุษย์
2.1 การทำลายชั้นโอโซน
2.2 ผลกระทบของภาวะเรือนกระจก
2.3 การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม
2.4 การตัดไม้ทำลายป่า

       สำหรับภัยแล้งในประเทศไทย ส่วนใหญ่เกิดจากฝนแล้งและทิ้งช่วง ซึ่งฝนแล้งเป็นภาวะปริมาณฝนตกน้อยกว่าปกติหรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล

พื้นที่ใดในประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง

        ภัยแล้งในประเทศไทยส่วนใหญ่มีผลกระทบต่อการเกษตรกรรม โดยเป็นภัยแล้งที่เกิดจากขาดฝนหรือ ฝนแล้ง ในช่วงฤดูฝน และเกิด ฝนทิ้งช่วง ในเดือนมิถุนายนต่อเนื่องเดือนกรกฎาคม พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งมาก ได้แก่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง เพราะเป็นบริเวณที่อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เข้าไปไม่ถึง และถ้าปีใดไม่มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านในแนว ดังกล่าวแล้วจะก่อให้เกิดภัยแล้งรุนแรงมากขึ้น นอกจากพื้นที่ดังกล่าวแล้ว ยังมีพื้นที่อื่น ๆ ที่มักจะประสบปัญหาภัยแล้งเป็นประจำอีกดังตารางข้างล่าง